Easy E-Receipt มาตรการปี 67 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 มีเงื่อนไขยังไง?

avatar writer
โดย : JINFEB
avatar writer4 ม.ค. 2567 avatar writer8.7 K
Easy E-Receipt มาตรการปี 67 ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 มีเงื่อนไขยังไง?

มาตรการใหม่! Easy E-Receipt ปี 67 ช้อปลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000.-

 

พอมาถึงช่วงต้นปีใหม่แบบนี้ เชื่อได้เลยว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงกำลังมองหาแนวทางหรือมาตรการตัวช่วยดี ๆ จากรัฐในการลดหย่อนภาษีอยู่แน่ ๆ ซึ่งในปีนี้ทางรัฐเขาก็ได้ออกมาตรการใหม่มาอย่าง Easy E-Receipt เรียกได้ว่าเอาใจขาช้อปมากเลยเชียว โดยการเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีให้สูงสุดถึง 50,000 บาท ว่าแต่รายละเอียดต่าง ๆ จะเป็นยังไงนั้นมาตามอ่านกันเลย~


 

มาดูมาตรการใหม่ Easy E-Receipt กัน

 

 

🧐Easy E-Receipt คืออะไร ?

 

Easy E-Receipt เป็นอีกหนึ่งมาตรการใหม่ที่ออกมาทดแทนมาตรการ ช้อปดีมีคืน จากของปีก่อน มีมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าและบริการตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 50,000.-  และออกเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt เท่านั้น เพื่อเอามาใช้หักลดหย่อนภาษีได้นั่นเอง

 


 

🤔e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ?

 

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายหน่อยทั้งสองอย่างนี้มันก็คือ ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์นั่นแหละ ซึ่งมีไว้ใช้แทนการใช้กระดาษตามแบบเก่า โดยการที่มีทั้ง e-Tax Invoice และ e-Receipt ออกมานั้นก็ทำให้สะดวกมากขึ้นและกรมสรรพากรสามารถเช็ครายรับรวมไปถึงรายจ่ายหรือการเงินต่าง ๆ ของแต่ละร้านค้า แต่ละเจ้าได้อีกด้วย

 


 

🙋🏻‍♀️ใครจะได้สิทธิบ้างนะ ?

 

  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้มีสิทธิได้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ก็สามารถใช้สิทธิเข้าร่วม Easy E-Receipt ได้

 

💥เงื่อนไข

 

  1. เริ่มใช้สิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
  2. ผู้มีเงินได้และมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล)
  3. ลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือบริการ จากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ค่าสินค้าและบริการที่ลดหย่อนได้ สูงสุด 50,000 บาท (ซื้อเกินได้ แต่ใช้ลดหย่อนได้เฉพาะในวงเงิน 50,000 บาท)
  5. ต้องได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูป ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น (ใบกำกับแบบเป็นกระดาษไม่ได้)

 

📱ขั้นตอนการทำใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์

 

  • ส่วนใหญ่หลาย ๆ ร้านจะจัดการทำให้เราเสร็จสรรพเรียบร้อยทั้งหมด เราแค่หยิบบัตรประชาชนของเราให้และแจ้งอีเมลล์ที่จะเอาไว้รับใบกำกับแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปด้วย หลังจากนั้นก็รอรับทางอีเมลล์ได้เลย 
  • บางร้านก็อาจจะมีเอามาให้เรากรอกข้อมูลเอง เพื่อป้องกันข้อมูลของลูกค้าผิดเพี้ยนไป อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านเขาด้วยนะ

 

 


 

⏰แล้วต้องรอใบกำกับแบบอิเล็กทรอนิกส์นานแค่ไหน ?

 

อันนี้ต้องขอบอกเลยว่ามันขึ้นอยู่กับแต่ละร้านนะ อย่างบางร้านที่บ้านเราเจอมาก็คือขอแล้วได้เลยในทันที ไม่ต้องรอนาน บางร้านอาจจะใช้เวลาหลายชั่วโมงหน่อย แต่ก็ได้ภายในวันที่ขอก็มี หรือบางร้านที่บ้านเราเคยเจอก็ใช้เวลานานกว่า ประมาณ 2 - 3 วัน ถึงจะได้รับทางอีเมลล์ 

 


 

👀ขั้นตอนนำไปยื่นต้นปี 68

 

  1. ยื่นภาษีในรูปแบบกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. 2568
  2. ยื่นภาษีในรูปแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-8 เม.ย. 2568

 


 

✅ซื้ออะไรได้บ้าง ?

 

  1. สินค้าและบริการทั่วไปที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  2. สินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จัดเป็นข้อยกเว้นให้ซื้อได้ คือ หนังสือ , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , E-BOOK , สินค้า OTOP


 

❌ซื้ออะไรแล้วลดหย่อนไม่ได้บ้าง ?

 

  1. สุรา เบียร์ ไวน์

  2. ยาสูบ

  3. รถยนต์ รถจักรยานยนต์และเรือ

  4. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา

  5. ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ

  6. ค่าโทรศัพท์และค่าอินเทอร์เน็ต

  7. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

  8. ค่ารักษาพยาบาล ค่าศัลยกรรม ทองคำ บัตรกำนัล (Gift Voucher)

 


 

🤑อัตราคืนภาษี (กรณีช้อป/ใช้จ่าย 50,000.-)

 

  • รายได้สุทธิต่อปี ไม่เกิน 150,000.- ยกเว้นภาษี ไม่ได้เงินภาษีคืน
  • รายได้สุทธิต่อปี 150,001 - 300,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 2,500.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 300,001 - 500,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 5,000.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 500,001 - 750,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 7,500.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 750,001 - 1,000,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 10,000.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 1,000,001 - 2,000,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 12,500.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 2,000,001 - 5,000,000.- เงินภาษีคืนสูงสุด 15,000.-
  • รายได้สุทธิต่อปี 5,000,001.- ขึ้นไป เงินภาษีคืนสูงสุด 17,500.-

 


 

🤩สารพัดร้านที่ร่วมโครงการ (ทั้งในห้างและนอกห้าง)

 

✅ 1312 Foodhunt Delivery

✅ 425

✅ .Life

✅ 7-eleven

✅ Advice

✅ AIS

✅ Alice and Olivia

✅ Amway

✅ Arigato

✅ Auntie Anne's

✅ Autobag

✅ Autobot (เครื่องดูดฝุ่น และอื่น ๆ)

✅ B-Quik

✅ b2s

✅ Baanoppa (ร้านอาหารเกาหลี)

✅ Banana IT

✅ Banana Run

✅ BANILACO

✅ Bar B Q Plaza

✅ Big C

✅ Brown Café

✅ Calvin Klein

✅ Casio

✅ Central

✅ Chabuton Ramen

✅ Chanel

✅ Club21

✅ Cockpit (ได้บางสาขา สอบถามเพิ่มเติมที่เพจเค้าได้เลย)

✅ Cold Stone

✅ Crocs

✅ Decathlon

✅ DKNY

✅ Dtac

✅ Dyson

✅ Elle

✅ Emporium

✅ Emquartier

✅ Emsphere

✅ ergotrend

✅ Fila

✅ Fitness First

✅ Fossil

✅ G-Shock

✅ G2000

✅ Gourmet Market Online

✅ Guess

✅ Hermes

✅ Holiday Inn สาทร

✅ Homepro

✅ Hush Puppies

✅ Icare (ร้านยา)

✅ ICONSIAM

✅ Ikea online (เฉพาะออนไลน์เท่านั้น)

✅ Index living mall

✅ iStudio

✅ IT City

✅ Jaspal

✅ Jaymart

✅ Katsuya

✅ Kenzo

✅ KFC

✅ Kiani

✅ King Power (เฉพาะสินค้าป้ายฟ้า)

✅ Kowlune

✅ Lee

✅ Levi

✅ LG.com

✅ Loft

✅ Lotus

✅ Makro

✅ Matsumoto kiyoshi

✅ Mister Donut

✅ MLB

✅ Naiin

✅ Ootoya

✅ Paragon

✅ Paul Smith

✅ Pepper Lunch

✅ Pharmax (ร้านยา)

✅ Pizza Company (บางสาขาอาจจะยังออกไม่ได้นะ)

✅ Polo Ralph Lauren

✅ Powerbuy

✅ Ramen Kagetsu Arashi

✅ Robinson

✅ S&P

✅ Salad Factory

✅ samsonite

✅ Samsung Experience Store โดยบริษัท คอปเปอร์ ไวร์ด จำกัด

✅ SB Design Square

✅ Se-ed

✅ Shabushi

✅ Siam Takashimaya

✅ Sizzler

✅ Starbuck

✅ Studio 7

✅ superdrug (ร้านยา)

✅ supersport

✅ swensen's (ยังได้เป็นบางสาขา)

✅ Tenya

✅ Terraces De Bangkok

✅ Tha Mall

✅ The Body Shop

✅ Tom Ford

✅ Tops

✅ True Shop โดย ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด

✅ Uniqlo

✅ Verasu

✅ Versace

✅ Vitamin club (ร้านยา)

✅ Vivien Westwood

✅ Watsons

✅ Wrangler

✅ Yoshinoya

✅ ไทวัสดุ

✅ มั่งคง gadget

✅ ส้มตำนัว

✅ อร่อยดี (Aroidee)

 

4

 

*แนะนำให้รีเช็คกับแต่ละร้านอีกครั้งก่อนนะและอย่าลืมย้ำพนักงานว่าเป็น e-tax invoice หรือ e-receipt เท่านั้นด้วยนะ*

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2567*


🥺ร้านที่ไม่ร่วมโครงการ (ในตอนนี้)

 

❎ Eat Am Are

❎ Foodland

❎ H&M

❎ Hachiban Ramen

❎ Lemon Farm

❎ Maguro

❎ Masaru

❎ MK

❎ Mo Mo Paradise

❎ Muji

❎ Nespresso

❎ Nike

❎ Puma

❎ Red sun

❎ Saemaeul

❎ Samsung.com

❎ Sukishi

❎ Sushi Hiro

❎ Sushiro

❎ Turtle

❎ Villa Market

❎ Watson ใน Lazada

❎ Yayoi

❎ Zara

❎ กับข้าวกับปลา

❎ ตี๋น้อย

❎ บ้านไอซ์

❎ บ้านหญิง

 

*ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2567*


 

🧚🏻‍♀️ไขข้อสงสัย

 

  • ถาม : ถ้าซื้อหลายร้าน มีใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์หลายใบเอามารวมกันได้ไหม ?
  • ตอบ : ได้เลยแต่ต้องไม่เกิน 50,000.- นะ

 

  • ถาม : แล้วถ้าซื้อเกิน 50,000.- ในครั้งเดียวล่ะจะเอาใช้ได้ไหม ? 
  • ตอบ : ใช้ได้แน่นอน ขอแค่อย่าลืมใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้องก็พอ แต่จะนำมาใช้ลดหย่อนได้เฉพาะในวงเงิน 50,000.- เท่านั้น (ส่วนเกินไม่เกี่ยวนะ)

 

  • ถาม : ใบกำกับแบบกระดาษใช้ได้ไหม ?
  • ตอบ : **ไม่สามารถใช้ได้เลยนะ** ถึงแม้จะเป็นแบบเต็มรูปแบบหรือแบบไหนก็ตาม จะสามารถใช้ได้แค่ใบกำกับแบบ อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นนะ ระวังด้วย ต้องย้ำพนักงานหลายรอบหน่อยก็จะดี~

 

  • ถาม : ช้อปออนไลน์ทำด้วยได้ไหม ?
  • ตอบ : ทำได้หมดเลยทั้งช้อปออนไลน์และหน้าร้าน ขอแค่มีใบกำกับแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็พอแล้ว

 

  • ถาม : ถ้าซื้อของเมื่อวานแต่ลืมออกใบกำกับแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำย้อนหลังหรือขอย้อนหลังได้ไหม ?
  • ตอบ : ไม่ได้นะ ต้องเป็นวันต่อวันเท่านั้น ซื้อวันไหนก็ต้องทำใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ให้เสร็จเรียบร้อยในวันนั้น รักษาสิทธิ    ตัวเองกันด้วย~

 

👇🏻อ่านบทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้ที่นี่👇🏻

 

แสดงความคิดเห็น