ระวัง! ไวรัสมาร์บวร์ก ติด 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตสูงถึง 88% มากกว่าโควิด-19

avatar writer
โดย : wacheese
avatar writer17 ก.พ. 2566 avatar writer153
ระวัง! ไวรัสมาร์บวร์ก ติด 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตสูงถึง 88% มากกว่าโควิด-19

 

⚠️

ช็อกโลกอีกครั้ง! เมื่อ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยืนยัน พบการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กอีกครั้ง ในสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี แถบแอฟริกากลาง แม้จะเคยมีการแพร่ระบาดแล้วเมื่อปี 65 ที่ผ่านมา แต่ความน่ากลัวของเชื้อไวรัสมาร์บวร์กคือ มีอัตราการป่วยเสียชีวิตสูงถึง 88% มากกว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีค่าเฉลี่ยอัตราการเสียชีวิต 6% เท่านั้น*

 

*ข้อมูลโควิด ณ ปี 63 ที่การฉีดวัคซีนป้องกันยังไม่แพร่หลาย

 


 

เชื้อไวรัสมาร์บวร์ก

 

| รู้จัก ไวรัสมาร์บวร์ก เชื้อไวรัสที่อันตรายกว่าโควิด-19 |

 

เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 66 ที่ผ่านมา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยสถานการณ์การระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) ประเทศอิเควทอเรียลกินี (Equatorial Guinea) แอฟริกากลาง ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 9 ราย โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีอาการติดเชื้อรุนแรง เป็นไข้และอาเจียนเป็นเลือด นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยต้องสงสัยอีก 16 ราย

 

" ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กมีอาการไข้
อ่อนเพลีย อาเจียนเป็นเลือดและท้องเสีย "

 

ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการสอบสวนโรคเพิ่มเติม และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญไปสอบสวนโรคในเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อติดตามแยกกักผู้สัมผัส และให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่แสดงอาการ รวมถึงบริหารสถานการณ์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

 

ไวรัสมาร์เบิร์ก

 

| ไวรัสมาร์บวร์ก ติดอันดับ 1 ใน 13 โรคที่มีความรุนแรงสูง

 

โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กถือเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง ⚠️ ประเทศไทยกำหนดให้เป็น 1 ใน 13 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

 

โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 88 เป็นไวรัสในสกุลเดียวกับไวรัสอีโบลา คือ Filoviridae ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง หลายรายมีเลือดออก และอุจจาร่วงอย่างรุนแรง อีกทั้งยังสามารถติดต่อได้ทางเลือดและอุจจาระเช่นเดียวกับไวรัสอีโบลา ที่พบไวรัสในค้างคาวและแพร่เชื้อมาสู่คน นอกจากนี้ ยังติดต่อได้ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเลือดและสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อ หรือสัมผัสเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนบนพื้นผิววัสดุต่าง ๆ

 

" ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาต้านไวรัสที่รักษาโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กได้
จะให้การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการ "

 

ไวรัสมาร์บวร์ก

 

| สถานการณ์ ไวรัสมาร์บวร์ก ในประเทศไทย

 

ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก รวมถึงยังไม่มีการประกาศห้ามการเดินทาง แต่ทางกรมควบคุมโรคได้เน้นมาตรการคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศอิเควทอเรียลกินี และประเทศใกล้เคียง

 

ล่าสุด! มีรายงานข่าวพบผู้ป่วยสงสัยเพิ่ม 2 ราย บริเวณชายแดนประเทศแคเมอรูน ติดกับพื้นที่ระบาดในประเทศอิเควทอเรียลกินี จึงได้เพิ่มระดับการเตรียมความพร้อม และระบบการเฝ้าระวังและคัดกรองที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศทุกแห่ง ตลอดจนแจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ หากพบผู้ป่วยสงสัยให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ และรายงานผู้ป่วยที่สงสัยภายใน 3 ชม.

 

สำหรับประชาชนพบผู้ที่สงสัยโรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก ให้แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 📱 สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

 

🔗 ข้อมูลอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุขฐานเศรษฐกิจ

แสดงความคิดเห็น