รู้จัก ซีเซียม-137 สารกัมมันตรังสีตัวร้าย ความอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
โดย : wacheese
☢️
เมื่อช่วงที่ผ่านมามีเป็นประเด็นที่สังคมต่างให้ความสนใจ จากกรณีการรายงานข่าว สารซีเซียม-137 ที่พบว่ามีการปนเปื้อนเขม่าหลอมเหล็ก ภายในโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งสร้างความกังวลว่า อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้
| รู้จัก สารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 สารอันตราย |
ซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก มีสีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวคลอไรด์กลายเป็นผลผลึก และปล่อยรังสีเบต้าและแกมมา ปัจจุบันซีเซียม-137 ถูกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคมะเร็งด้วย
| ซีเซียม-137 ความอันตรายจนถึงแก่ชีวิต
การสัมผัสสารกัมมันตรังสีจะได้รับอันตรายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี และชนิดของรังสีที่ได้รับ โดยเบื้องต้นอาจพบว่า มีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว มีแผลไหม้พุพองบนผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี
" หากสัมผัสรังสีในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อระบบเลือด
กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง จนถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้ "
☢️ สำหรับอาการสุ่มเสี่ยงที่ควรรีบพบแพทย์
1. คลื่นไส้อาเจียน
2. ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง
3. มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง
4. มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายใน 1 สัปดาห์หลังโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
| ข้อควรปฏิบัติ และการป้องกันอันตราย ซีเซียม-137
1. ลดการปนเปื้อน ด้วยการล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด
2. รีบล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อีกทั้งควรแยกเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อน แล้วใส่ถุงปิดปากให้สนิท เพื่อนำไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบว่า มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่
3. ลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัส หรืออยู่ในเหตุการณ์ เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
☢️ สำหรับพื้นในจังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง สามารติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่
- สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211626 ต่อ 102
- เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทรศัพท์ 037-211088
- ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสสารกัมมันตรังสี
4. ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งห้ามนำมือสัมผัสบริเวณพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ ได้กำหนดให้เป็นพื้นที่อันตราย
แม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า การได้รับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากซีเซียม-137 เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันที ⚠️ แต่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สูงขึ้นในการก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ ควรติดตามข้อมูลสถานการณ์การเกิดเหตุ และปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด
🔗 ข้อมูลอ้างอิง ศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลระยอง, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โดย wacheese
[email protected] :)