เช็ก! เงื่อนไขขอรับ เงินเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม ปี 2565
โดย : wacheese
⛈️
เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 65 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขวิธีการจ่ายเงินเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในช่วงฤดูฝนปี 2565 โดยได้ อนุมัติกรอบวงเงิน 6,258.54 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 1,046,460 ครัวเรือน ซึ่งเป็นข้อมูลครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้น ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 66 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร พร้อมได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย หรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินด้วย
| เช็ก! วิธีลงทะเบียนขอรับ เงินเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้ำท่วม 2565 |
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ดังนี้
1. เป็นอุทกภัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย ในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ทั้งในกรณีน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงการระบายน้ำ จนส่งผลกระทบให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้
" อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค. - 28 ต.ค. 65 "
2. เป็นที่อยู่ที่ประสบอุทกภัยตามห้วงเวลาดังกล่าวและได้รับผลกระทบในกรณีใดกรณีหนึ่ง
- ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ตั้งแต่ 1 วัน (24 ชม.) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
- ที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง เกินกว่า 7 วันขึ้นไป
| เช็ก! ช่องทางการจ่าย เงินเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2565
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย ในช่วงฤดูฝน ปี 2565 ผ่านธนาคารออมสิน ในระบบพร้อมเพย์ ดังนี้
1. กรณีที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันตั้งแต่ 1 วัน (24 ชั่วโมง) แต่ไม่เกิน 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหายหรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขังเกินกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท
2. กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 7,000 บาท
3. กรณีที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่า 60 วัน ขึ้นไป ให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละ 9,000 บาท
| เช็ก! เงื่อนไขการขอรับ เงินเยียวยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2565
การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัย ได้กำหนดเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยา ดังนี้
1. ต้องเป็นบ้านที่อยู่อาศัยประจำ ในพื้นที่ที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย หรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
- มีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกให้ (ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 30)
- ผ่านการประชาคมหมู่บ้านของแต่ละพื้นที่ประสบสาธารณภัย
- ผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)
" พื้นที่กรุงเทพมหานคร ต้องผ่านการตรวจสอบและยืนยันข้อมูล จากสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานคร "
2. กรณีที่ประสบภัยหลายครั้ง จะได้รับความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว
🔗 ข้อมูลอ้างอิง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
โดย wacheese
[email protected] :)