ระวัง! โนโรไวรัส เชื้อไวรัสที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน และกำลังแพร่ระบาดในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก

avatar writer
โดย : wacheese
avatar writer24 ก.พ. 2566 avatar writer240
ระวัง! โนโรไวรัส เชื้อไวรัสที่ไม่มีวัคซีนป้องกัน และกำลังแพร่ระบาดในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก

 

🦠

ก่อนหน้านี้มีการรายงานข่าวของนักเรียนในจังหวัดชัยภูมิ ที่เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนอย่างรุนแรง หลังจากทานอาหารกลางวันของโรงเรียน จนต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมากถึง 315 คน และจากการส่งตรวจหาเชื้อที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ พบว่าเกิดจาก โนโรไวรัส ที่อาจปนเปื้อนในอาหาร หรือน้ำแข็ง

 


 

โนโรไวรัส

 

| รู้จัก โนโรไวรัส เชื้อไวรัสอันตรายที่พบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ |

 

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร พบได้ในเด็ก และผู้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน โนโรไวรัสสามารถติดต่อกันได้ง่ายจากคนสู่คน ผ่านการสัมผัสอาหาร น้ำดื่ม หรือการหายใจใกล้กับผู้ป่วยที่อาเจียน อีกทั้งโนโรไวรัสสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว แม้ร่างกายจะได้รับเชื้อในปริมาณเพียงเล็กน้อย จนทำให้บางครั้งอาจป่วยพร้อมกันทั้งครอบครัว หรือระบาดในโรงเรียน และสถานรับเลี้ยงเด็ก 👶🏻 ที่สำคัญยังทนต่อความร้อน และน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

 

" ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อโนโรไวรัส "

 

สำหรับโนโรไวรัส ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่า เป็นเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของการระบาดของการติดเชื้อท้องเสีย ที่ไม่ใช่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และ พบบ่อยที่สุดในโลก

 

เชื้อไวรัสโนโร

 

| อาการติดเชื้อ โนโรไวรัส

 

อาการที่พบได้บ่อย หากได้รับเชื้อโนโรไวรัส ภายใน 24-28 ชม.

  • ถ่ายเหลวเป็นน้ำ
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • ไข้ต่ำ
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อ่อนเพลีย

 


 

ติดเชื้อไวรัสโนโร

 

| วิธีป้องกันตนเองจาก โนโรไวรัส

 

1. ก่อนทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

 

2. การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ โดยให้น้ำไหลผ่านไม่ต่ำกว่า 15 วินาที

 

3. ดื่มน้ำสะอาด และปรุงอาหารให้สุก

 

4. หลีกเลี่ยงการหยิบจับ หรือทำอาหารให้ผู้อื่น

 

5. ใช้ช้อนกลาง หากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

 


 

ไวรัสโนโร

 

| การดูแลที่พักอาศัย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย

 

การสัมผัสอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการติดต่อโนโรไวรัสได้ เพราะเชื้อโนโรไวรัสสามารถอยู่ในอุจจาระได้นานถึง 2 สัปดาห์ แม้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแล้วก็ตาม ดั้งนั้นเราจึงต้องป้องกันตนเอง และดูแลที่พักอาศัยอย่างเคร่งครัด หากต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย

 

1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ นานอย่างน้อย 20 วินาที

 

2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดขัดฟอกพื้นผิวทุกครั้งที่มีการสัมผัส

 

3. ซักทำความสะอาดเสื้อผ้าที่มีรอยเปื้อน

 

4. สวมเสื้อคลุมและถุงมือทุกครั้ง เมื่อมีการสัมผัสอุจจาระและอาเจียนของผู้ป่วย

 

5. หากมีอาการป่วย ควรหยุดพักผ่อนอยู่บ้าน

 

👉🏼 บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาหารติดคอเด็ก ภัยใกล้ตัว ผู้ปกครองควรปฐมพยาบาลอย่างไร มาดู ! คลิก
  • ไม่รู้ ไม่ได้ | Child Grooming หรือพฤติกรรมการเข้าหาเด็กโดยมีจุดประสงค์ทางเพศ น่ากลัวยังไง ทำไมถึงต้องระวัง ? คลิก

 

🔗 ข้อมูลอ้างอิง กรมควบคุมโรค, โรงพยาบาลกรุงเทพ

แสดงความคิดเห็น