อัปเดตสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ถนนเส้นไหนผ่านได้ - ไม่ได้บ้าง มาเช็กกัน !
โดย : imnat
วันที่ 16 และ 17 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ผู้ที่อาศัยอยู่ในหลายจังหวัดของประเทศไทยน่าจะเจอกับสถานการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่องกันมาแทบจะตลอดทั้งวัน อย่างบางจังหวัดปริมาณฝนอาจจะมีแค่เล็กน้อย - ปานกลาง แต่ในบางจังหวัดที่มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมขึ้นมาได้ อาทิ หลายพื้นที่ในจังหวัดนครปฐม โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบองค์พระปฐมเจดีย์ รวมไปถึงถนนเพชรเกษมขาเข้ากรุงเทพฯ
และนอกจากนี้ ในอีกหลายจังหวัดก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมได้เช่นกัน อีกทั้งในบางเส้นทางอาจจะไม่ปลอดภัยต่อการใช้รถใช้ถนน หรือผู้ขับขี่จะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาอัปเดตสถานการณ์น้ำ พร้อมอัปเดตเส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงนี้ รวมไปถึงแนะนำแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ดีๆ เอาไว้ให้เพื่อนๆ ได้อัปเดตและเช็กสถานการณ์น้ำแบบ Real Time ด้วยตัวเอง
อัปเดตสถานการณ์น้ำล่าสุดในประเทศไทย
- วันที่ 17 - 18 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้าปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลพลากใน 8 จังหวัด แต่ตอนนี้สถานการณ์คลี่คลายแก้ว 2 จังหวัด เหลืออีก 6 จังหวัดที่ยังเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมอยู่ ได้แก่ ขอนแก่น, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, นครปฐม และสระแก้ว
- ตั้งแต่วันที่ 15 - 17 ตุลาคม 2564 ด้วยอิทธิพลจาก พายุคมปาซุ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากใน 6 จังหวัด อัปเดตล่าสุดเมื่อวันนี้ 18 ตุลาคม 2564 พบว่าคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด เหลืออีก 2 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี และปราจีนบุรี
- ส่วนอิทธิพลของ พายุไลออนร็อก ที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ตอนนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น เหลือแค่อีก 2 จังหวัดได้แก่ จันทบุรี และตราด ที่ยังคงได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอยู่
- และผลกระทบจาก พายุเตี้ยนหมู่ ที่ได้กินเวลายาวนานมาตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2564 ส่งผลทำให้ตอนนี้ยังมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอยู่อีก 9 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น, มหาสารคาม, นครราชสีมา, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ที่สถานการณ์น้ำยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง
อย่างในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ทางจังหวัดได้มีการออกหนังสือด่วน แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในบริเวณเขื่อนลำตะคอง เพราะตั้งแต่สถานการณ์ฝนตกหนักในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลทำให้ระดับน้ำในลำน้ำต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้น
โดยทางจังหวัดได้มีการแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายเขื่อนลำตะคอง (ลุ่มน้ำลำตะคอง) และผู้ที่อาศัยอยู่สองฝั่งริมแม่น้ำ หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำกันอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้สำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในจังหวัดกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงที่จะต้องมีการสัญจรไปยังถนนมิตรภาพขาเข้ากรุงเทพฯ อาจจะต้องรับมือกับน้ำที่เอ่อล้นรอการระบายที่ท่วมถนนมิตรภาพบริเวณเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร รวมไปถึงอีกหนึ่งจุดบริเวณถนนมิตรภาพขาเข้ากรุงเทพฯ ก่อนถึงวัดหลวงพ่อโต ใครที่เดินทางด้วยรถเล็กอาจจะต้องหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน เพราะไม่เหมาะกับการสัญจร ส่วนใครที่ใช้รถใหญ่สามารถสัญจรได้ตามปกติ
ส่วนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงแม้ว่าสถานการณ์น้ำจะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีน้ำท่วมในทุกพื้นที่อยู่ ดังนั้นใครที่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไป หรือจะต้องใช้เส้นทางที่ตัดเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางเราแนะนำว่าให้สอบถามหรือเช็กเส้นทางกันอีกครั้ง ก่อนจะเดินทางกันนะ
*อัปเดตล่าสุดวันที่ 18 ตุลาคม 2564
| เส้นทางที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
ก่อนจะออกเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงนี้ อย่าลืมเช็กสถานการณ์ของน้ำกันก่อนว่าตอนนี้สถานการณ์น้ำเป็นยังไง และมีพื้นที่ไหนได้รับผลกระทบบ้าง มาเริ่มกันที่การสัญจรด้วยรถไฟกันก่อนดีกว่า
จากประกาศในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินขบวนรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากบางเส้นทางนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยขบวนรถที่ได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
- ขบวนรถด่วนที่ 71 กรุงเทพ - อุบลราชธานี มีการเดินเฉพาะระหว่าง นครราชสีมา - อุบลราชธานี
- ขบวนรถด่วนที่ 72 อุบลราชธานี - กรุงเทพ มีการเดินเฉพาะระหว่าง อุบลราชธานี - นครราชสีมา
- ขบวน 75/76 135/136 มีการเดินตามปกติ โดยจะขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ระหว่างกุดจิด - นครราชสีมาแทน
สำหรับการเดินทางผ่านเส้นทางที่ได้รับผลกระทบนี้ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ขอเปลี่ยนแปลงการเดินรถ และของดเดินขบวนรถไฟผ่านเส้นทางที่ได้รับผลกระทบ ตามที่ได้แจ้งไป จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น และขอให้ผู้ที่มีความประสงค์จะเดินทาง เช็กประกาศแบบวันต่อวัน กับทางการรถไฟแห่งประเทศไทยกันอีกที
มาต่อกันที่การเดินทางด้วยรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบกันบ้าง สำหรับเส้นทางการสัญจรโดยรถยนต์นั้น จากข้อมูลอัปเดตล่าสุดมีจำนวนจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 18 จังหวัด โดยมีจำนวนเส้นทางที่ 'รถผ่านไม่ได้' ทั้งหมด 21 เส้นทาง ดังนี้
📍 จังหวัดขอนแก่น
- เส้นทาง ทล.2 ท่าพระ-ขอนแก่น อำเภอเมือง ช่วงกม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้าง) การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.2065 พล-ลำชี อำเภอแวงน้อย ช่วงกม.ที่ 33+625 การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.2065 พล-ลำชี อำเภอแวงน้อย ช่วงกม.ที่ 33+785 การจราจรผ่านไม่ได้
📍 จังหวัดมหาสารคาม
- ทล. 213 มหาสารคาม-หนองขอน อำเภอกันทรวิชัย ช่วงกม.ที่ 5+530 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) มีระดับน้ำสูง 210 ซม. ลำน้ำชีล้นตลิ่ง มีระดับน้ำสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ จึงได้มีการทำการปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพานชั่วคราว การจราจรผ่านไม่ได้
📍 จังหวัดนครราชสีมา
- ทล.2150 ดง-โนนไทย อำเภอขามสะแกแสง ช่วงกม.ที่ 40+000-41+000 การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.2369 พระทองคำ-ดอนไผ่ อำเภอพระทองคำ ช่วงกม.ที่ 7+800-8+800 การจราจรผ่านไม่ได้
📍 จังหวัดชัยภูมิ
- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ อำเภอภูเขียว ช่วงกม.ที่ 185+000-185+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.201 ช่องสามหมอ-บ้านแข้ อำเภอภูเขียว ช่วงกม.ที่ 188+000-188+300 (จุดกลับรถใต้สะพาน) การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล. 2484 ทางเลี่ยงเมืองภูเขียว อำเภอภูเขียว ช่วงกม.ที่ 7+505-7+150 การจราจรผ่านไม่ได้
📍 จังหวัดนนทบุรี
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า – ต่างระดับบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง ช่วงกม.ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าแคราย) การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.302 สะพานพระนั่งเกล้า – ต่างระดับบางใหญ่ ช่วงกม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกเพื่อมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก) การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี อำเภอปากเกล็ด ช่วงกม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) การจราจรผ่านไม่ได้
📍 จังหวัดอ่างทอง
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง อำเภอบางปะหัน ช่วงกม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถ คลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 125 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง อำเภอบางปะหัน ช่วงกม.ที่ 33+200 (จุดกลับใต้ท่อ Box Cul. วัดค่าย) ระดับน้ำสูง 35 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
📍 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทล.347 บางกระสั้น-บางปะหัน อำเภอพระนครศรีอยุธยา ช่วงกม.ที่ กม.40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 15 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล. 3263 อยุธยา-ไผ่กองดิน อำเภอบางบาล ช่วงกม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล. 3263 อยุธยา-ไผ่กองดิน อำเภอบางบาล ช่วงกม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
📍 จังหวัดสุพรรณบุรี
- ทล. 33 สุพรรณบุรี-นาคู อำเภอเมือง ช่วงกม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 85 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
- ทล. 340 สาลี-สุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า ช่วงกม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 125 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
📍 จังหวัดกาญจนบุรี
- ทล.3390 หนองรี-บ่อยาง อำเภอบ่อพลอย ช่วงกม.ที่ 3+200-4+300 ระดับน้ำสูง 70 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้
- ทล.3480 ปลักประดู่-ถ้ำธารลอด อำเภอหนองปรือ ช่วงกม.ที่ 18+650-18+800 ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถเล็กไม่สามารถผ่านได้
*อัปเดตล่าสุดวันที่ 18 ตุลาคม 2564
แนะนำแอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำ
📱 แอปพลิเคชั่น และเว็บไซต์ ThaiWater
จุดเด่นของแอปนี้ คือ เราสามารถเช็กได้ทั้งสภาพอากาศ รวมถึงสถานการณ์น้ำได้ในแอปเดียว โดยนำข้อมูลมาจาก คลังข้อมูลน้ำแห่งประเทศไทย ดังนั้นพวกเราสามารถมั่นใจกันได้ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับข้อมูลที่มีในนี้ก็จะมีตั้งแต่ปริมาณน้ำในแม่น้ำ, ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ, เขื่อน รวมไปถึงสภาพอากาศ ปริมาณฝนทั่วประเทศ เส้นทางพายุ ก็คือ. มีรองรับหมด ใครสะดวกโหลดเป็นแอปพลิเคชันมาไว้ในมือถือก็ได้ หรือถ้าเป็นสายที่เปิดเน็ต ท่องเว็บอยู่แล้วเป็นประจำ ก็สามารถเข้าเว็บไซต์มาอัปเดตกันทุกวันได้โล้ด
• เว็บไซต์ ThaiWater > คลิก
• แอปพลิเคชัน ThaiWater ระบบปฏิบัติการ iOS > คลิก
• แอปพลิเคชัน ThaiWater ระบบปฏิบัติการ Android > คลิก
📱 Twitter กรมทางหลวง
สำหรับสายเดินทางที่ต้องการ อัปเดตข้อมูลก่อนการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็น รายงานปริมาณน้ำในเส้นทางสัญจรไป-มาต่างๆ ในแต่ละวัน รวมไปถึงข้อมูลเส้นทางที่ปิดไม่ให้สัญจรแบบ Real Time ทางเราขอแนะนำให้ไปกดตุ่ม Follow Twitter ของกรมทางหลวงนี้เลยจ้า เพราะข้อมูลดูง่ายกว่าในเว็บไซต์เยอะมาก แถมจุดเด่นเลย คือ มีภาพประกอบให้เราได้ดูกันด้วย ว่าปริมาณน้ำที่ว่านั้นอยู่ประมาณไหน เราจะได้วางแผนการเดินทางได้ครอบคลุมมากขึ้นยังไงล่ะ
• Twitter กรมทางหลวง > คลิก
สำหรับใครที่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางในช่วงนี้ อย่าลืมเช็กข่าวสารเกี่ยวกับการเดินทางกันเรื่อยๆ นอกจากแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ที่ได้แนะนำกันไปแล้ว เพื่อนๆ ก็อย่าลืมเช็กข่าวสารจากสำนักข่าวไม่ว่าจะผ่านทางโทรทัศน์ หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือกันบ่อยๆ ด้วย แต่ถ้าใครไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปไหน อาจจะอัปเดตหรือเช็กแค่บริเวณพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ส่วนใครมีแอปพลิเคชันอะไรดีๆ นอกเหนือจากนี้ที่ได้แนะนำกันไป ก็สามารถแนะนำกันเข้ามาได้น้า ที่สำคัญช่วงนี้ฝนตกบ่อย อย่าลืมดูแลสุขภาพกันให้ดีๆ ด้วย ไหนๆ ก็รอดจากโควิดกันมาได้แล้ว อย่ามาตุ้บเพราะป่วยเป็นหวัดกันนะ 😅
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : trueid.net , tnnthailand.com , komchadluek.net และ kaohoon.com
โดย imnat
เสพติดการอ่าน & ดูหนัง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทำตามความฝันให้สำเร็จ :)
บทความ ที่คุณอาจจะสนใจ