ออฟฟิศซินโดรม ไม่ใช่พนักงานออฟฟิศ ก็เสี่ยงเป็นได้!
โดย : prc.
"ออฟฟิศซินโดรม" โรคยอดฮิตของวัยทำงาน
บอกเลยว่าไม่ใช่แค่พนักงานออฟฟิศที่เป็น
แต่เดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็มีสิทธิ์เป็นได้!
ออฟฟิศซินโดรม อีกหนึ่งโรคที่ปัจจุบันเหล่าวัยทำงาน มีแนวโน้มจะเป็นกันมากขึ้น และเรามั่นใจว่า 80% ของคนที่เป็นคือไม่รู้ตัว! ส่วนหนึ่งอาจเพราะอาการเริ่มแรกของโรคนี้ มันจะค่อยๆ มาทีละนิด แบบที่เราคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยทั่วไป นอนพักสักแป๊ปนึงเดี๋ยวก็หาย แต่กลายเป็นว่าเหมือนจะรุนแรงกว่าเดิม จนรู้อีกที ก็ต้องไปหาหมอกันให้วุ่นวาย เสียค่ารักษากันไปอี้กกก เพราะฉะนั้น เรามาเตรียมตัวรับมือกับโรคออฟฟิศซินโดรม และหาทางแก้ไปด้วยกัน ;)
อาการของออฟฟิศซินโดรม
เรามาลองสังเกตตัวเองไปพร้อมกัน ว่าในช่วงนี้ มีอาการแบบนี้เกิดขึ้นบ้างไหมนะ
-
มีการนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่เปลี่ยนท่าหรือลุกไปไหน
-
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเฉพาะจุด อาทิ ต้นคอ ไหล่ สะบัก หรือ หลัง
-
นิ้วล็อก หรือปวดกระบอกตา
-
มีความรู้สึกชา วูบ เป็นเหน็บ ขนลุก เหงื่อออก ในบริเวณที่ปวด หรือชาตรงแขน มือ
-
เริ่มนอนไม่หลับ หรือมีการหลับๆ ตื่นๆ กลางดึก
วิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมแบบทำได้เอง
ถ้ามีอาการไปแล้ว จะทำยังไง? ยังไม่อยากไปหาหมอซะด้วย เอาเป็นว่า ถ้าใครเพิ่งมีอาการในระยะแรกๆ ไม่ได้เจ็บปวดรุนแรง ลองมายืดเส้นยืดสายตามนี้เลยย
- ลองยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าง่ายๆ เช่น เหยียดแขนไปด้านหน้า เอียงศีรษะให้สุดทั้งสองด้าน เหยียดขา หรือลุกเดินก็ช่วยได้
- ปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้พอดีกับสายตาของเรา
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ้ามีอาการปวดมากให้ลองประคบร้อนเย็น ในตอนเช้า-เย็น ครั้งละ 15-20 นาที
ป้องกันง่ายๆ เริ่มจากการเปลี่ยน
- ปรับท่านั่งทำงานให้ถูกต้อง นั่งให้พอดีกับเก้าอี้ที่ทำงานของเรา ไม่นั่งห่อไหล่หรือนั่งหลังค่อม
(เข้าใจว่าแก้ได้ยากสุดๆ เพราะฉะนั้น ข้อนี้เราว่าให้เพื่อนที่นั่งข้างๆ ช่วยเตือนก็ได้นะ) - เปลี่ยนท่านั่งบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ร่างกายมีการขยับตัว ทุกๆ 1 ชั่วโมงกำลังดีจ้า
- ควรยืดกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นอยู่เสมอ
🌈 ปันโปรสรุปให้ 🌈
ใครที่เริ่มรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกายเวลาทำงาน อย่าชะล่าใจนะ! ควรลุกมาเดินหรือขยับร่างกายกันสักนิดจะดีกว่า ส่วนคนที่มีอาการรุนแรง เจ็บตรงจุดนั้นๆ ซ้ำๆ หลายวันแบบไม่หายสักที ก็แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกวิธี และที่สำคัญ อย่าลืมปรับพฤติกรรมท่านั่งการทำงานของเรา เพื่อที่จะได้ไม่มีอาการออฟฟิศซินโดรมมากวนใจจ้า
-- ขอบคุณข้อมูลจาก siphhospital และ honestdocs --
โดย prc.
just 'ORDINARY WRITER' who love to eat :)