BTS เปลี่ยนป้ายบอกเส้นทางแบบใหม่ มาลองดูกัน!

avatar writer
โดย : MilD
avatar writer26 มี.ค. 2562 avatar writer29.6 K
BTS เปลี่ยนป้ายบอกเส้นทางแบบใหม่ มาลองดูกัน!

มีใครเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างป่าวววว~
รถไฟฟ้า BTS ปรับเปลี่ยนป้ายบอกเส้นทางบนชานชาลาแล้วนะ
สำหรับสถานีสยาม และสำโรง จะมีความแตกต่างจากสถานีอื่นอยู่นิดนึงนะ
แต่เชื่อว่าน่าจะมีความสับสนน้อยลงแน่นอนนน!


รถไฟฟ้า BTS เปิดให้บริการตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2542 นับมาจนถึงตอนนี้ก็ 19 ปีพอดิบพอดี ก็ต้องมีหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักๆ แล้วก็เป็นเรื่องของรถไฟฟ้าที่นำมาใช้วิ่ง แต่อีกจุดหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย คือ​ "ป้ายบอกเส้นทาง" บนสถานีนั่นเอง เห็นช่วงนี้ทาง BTS ได้เปลี่ยนแปลงป้ายบอกเส้นทางใหม่ ก็เลยขอดูซะหน่อยว่าเทียบสมัยก่อนกับตอนนี้ แตกต่างกันยังไงบ้างน้าาาาา...

ป้ายเวอร์ชั่นที่ 1


รูปแบบป้ายแบบที่ 1
จะบอกข้อมูลเฉพาะสถานีปลายทาง และทิศทางการเคลื่อนที่ของรถว่าไปทางไหน ซึ่งในอดีตตั้งแต่เปิดให้บริการ จะใช้ป้ายแบบเดียวกันทุกสถานี เวลาขยายเส้นทางเพิ่มเติม ก็จะเปลี่ยนป้ายสิ้นสุดไปเรื่อยๆ เช่น ไปอ่อนนุช (To Onnut), ไปแบริ่ง (To Bearing), ไปสำโรง (To Samrong), ไปวงเวียนใหญ่ (To Wong Wian Yai), ไปตลาดพลู (To Talat Phu), ไปบางหว้า (To Bang Wa) ซึ่งปัจจุบันยังสามารถพบเห็นป้ายบอกทางแบบนี้ได้ที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว ก่อนขึ้นไปที่ชั้นชานชาลา จะได้รู้ว่าเราจะขึ้นทางซ้ายหรือขวา

ป้ายเวอร์ชั่นที่ 2


รูปแบบป้ายแบบที่ 2
ก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบันของทุกสถานี (ยกเว้นสถานีสยาม และสำโรง) โดยจะบอกข้อมูลหมายเลขชานชาลา สถานีปัจจุบัน สถานีต่อไป และสถานีที่ผ่านมา พร้อมรหัสสถานี ป้ายแบบนี้ก็จะทำให้รู้ว่าสถานีต่อไปคืออะไร จะได้เตรียมตัวลงได้ถูก เพราะคนส่วนใหญ่จะเห็นแล้วว่า ชานชาลานี้ไปสถานีปลายทางอะไรจากที่ชั้นจำหน่ายตั๋ว


ป้ายแบบนี้จะความพิเศษอยู่ที่ สถานีสะพานตากสิน เนื่องจากสถานีนี้มีแค่ชานชาลาเดียว แต่มีการเดินรถทั้ง 2 ทิศทาง เลยทำให้ป้ายบอกทางจะแสดงสถานีต่อไปทั้งสองฝั่ง โดยแบ่งด้วยสีของพื้นที่ยืนรอรถ : สีเขียว - ไปสนามกีฬาแห่งชาติ และสีม่วง - ไปบางหว้า ซึ่งก็จะมีเสียงประกาศคอยบอกอยู่ว่าขบวนรถที่กำลังจะมาไปสถานีปลายทางอะไร แต่ถ้ามีจอแสดงผลด้วยก็จะเริ่ดมากเลย ถ้าฟังไม่ทันก็จะได้ดูจากจอได้ด้วยแหละ

ป้ายเวอร์ชั่นที่ 3


รูปแบบป้ายแบบที่ 3
ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นรูปแบบใหม่ที่สุด ซึ่งป้ายแบบนี้มีเฉพาะสถานีสยาม และสำโรง ซึ่งเป็นสถานีที่มีชานชาลาอยู่ตรงกลาง โดยป้ายจะบอกข้อมูลหมายเลขชานชาลา สถานีปัจจุบัน สถานีก่อนหน้า สถานีถัดไป และสถานีปลายทางในป้ายเดียว

สำหรับ "สถานีสยาม" เป็นสถานีที่มีการเปลี่ยนขบวนรถระหว่างสายสุขุมวิท และสายสีลม ถ้าใช้ป้ายบอกทางแบบที่ 2 ผู้ใช้บริการก็จะต้องรู้ว่าสถานีต่อไปคืออะไร ถึงจะรู้ว่ารถขบวนนี้จะไปสถานีปลายทางอะไร แต่หลายคนอาจจะงงว่าสรุปแล้วต้องนั่งขบวนไหนกันแน่ เลยกลายมาเป็นป้ายบอกทางแบบที่ใช้ในตอนนี้ ซึ่งบอกข้อมูลครบถ้วนเลยในป้ายเดียว หลายเสียงก็บอกว่าเวิร์คกว่าเดิมอยู่น้าาาาา


ชานชาลามีแค่ 2 ฝั่ง แต่ทำไมถึงมีชานชาลาที่ 1-4?

เนื่องจากว่ารถไฟฟ้า BTS ได้ให้บริการ 2 เส้นทาง คือสายสุขุมวิท และสายสีลม เลยจะต้องมีทั้งเส้นทางไป-กลับ เค้าก็เลยได้กำหนดหมายเลขชานชาลา ไว้ตามนี้เล้ยยยยยย

  • ชานชาลาที่ 1 : สายสุขุมวิท ไปเคหะฯ
  • ชานชาลาที่ 2 : สายสุขุมวิท ไปหมอชิต
  • ชานชาลาที่ 3 : สายสีลม ไปบางหว้า
  • ชานชาลาที่ 4 : สายสีลม ไปสนามกีฬาแห่งชาติ

แสดงว่าถ้าเราเดินทางสายสุขุมวิท ไม่ว่าสถานีไหนก็ตาม จะเห็นป้ายชานชาลาที่ 1 และ 2 เท่านั้น ส่วนสายสีลมในทุกสถานี ก็จะเป็นชานชาลาที่ 3 และ 4 นั่นเอง แต่จะมีความพิเศษอยู่ที่สถานีสยาม เพราะมีทั้งหมดถึง 4 ชานชาลาเลย โดยชั้น 3 เป็นชานชาลาที่ 1 กับ 3 และชั้น 4 เป็นชานชาลาที่ 2 กับ 4


คราวนี้บอกเลยว่าไม่มีหลงแน่น๊อนนนน
ใครมีความเห็นยังไง ก็ลองบอกกันได้เนอะ ~

  • avatar writer
    โดย MilD
    รักที่จะเรียนรู้ อยู่อย่างมีชีวิตชีวา เพราะไม่ว่าโปรโมชั่นจะอยู่ที่ไหน เราต้องตามหามันให้เจอ <3
แสดงความคิดเห็น
จิณณี่ เฉิน
จิณณี่ เฉิน
ขอบคุณมากเลยค่ะ ชอบที่อธิบายแยกว่าชั้น4 เป็นชานชะลาที่2,4 โดยที่ชาชะลาที่2 ตินนี้สุดทางที่คูคตรังสิต และชานชะลาที่4 เหลือสถานีเดียวคือสนามกีฬา
ตอบกลับ | 2 ปีที่แล้ว 0