โรคแปลกใกล้ตัว! อาการตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome

avatar writer
โดย : waranggg
avatar writer8 พ.ย. 2562 avatar writer13.3 K
โรคแปลกใกล้ตัว! อาการตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome

อยู่ในตึกทีไร มีอาการเหมือนจะเป็นภูมิแพ้ทุกที
นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณอาจจะเป็น
"โรคตึกเป็นพิษ"


"โรคตึกเป็นพิษ หรือ Sick Building Syndrome" แค่เห็นชื่อในหัวก็เกิดเครื่องหมายคำถามเต็มไปหมดว่า "มีโรคแปลกๆ แบบนี้ด้วยหรอ?!" ใครจะไปคิดว่าอาคารหรือตึกจะกลายมาเป็นสาเหตุให้เราเกิดอาการเจ็บป่วยได้ แล้วขอบอกเลยว่าเหล่ามนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานบนตึกหรืออาคารสูงๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ด้วย! ว่าแต่โรคนี้คืออะไรกันแน่นะ อย่ารอช้า ตามมาเล้ย!

Sick Building Syndrome (SBS)
โรคตึกเป็นพิษ 

sick building syndrome

เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับมลภาวะบางอย่างจากภายในตัวอาคาร เช่น ฝุ่นละอองหรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้รู้สึกไม่สบาย  มีอาการไอ จาม คัดจมูก ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียนแบบเฉียบพลัน และอาการจะดีขึ้นเมื่อออกนอกตัวอาคาร มักเกิดขึ้นกับพนักงานที่ต้องทำงานในอาคาร หรือคนที่อาศัยอยู่คอนโดมิเนียม เป็นต้น สำหรับใครที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหอบหืดอยู่แล้ว ก็จะมีอาการแพ้หนักมากกว่าปกติด้วย

สาเหตุของโรคตึกเป็นพิษ

sick building syndrome

  • สารเคมีที่ใช้ในสำนักงาน เช่น น้ำยาถูพื้น หรือสีที่ใช้ทาอาคาร 
  • ฝุ่นละอองภายในอาคาร 
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน เช่น สารระเหยจากเครื่องซีร็อกซ์ จอคอมพิวเตอร์หรือหลอดไฟที่เก่าจนเกินไป
  • ภายในอาคารมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก อากาศร้อนหรือชื้นจนเกินไป
  • ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน 

อาการของโรคตึกเป็นพิษ 

อาการของโรคนี้จะคล้ายๆ กับอาการไข้หวัดหรือภูมิแพ้ทั่วไป จึงทำให้สังเกตหรือวินิจฉัยได้ค่อนข้างยาก และอาการจะกำเริบเมื่ออยู่ในอาคาร  แต่เมื่อออกจากนอกตัวอาคาร อาการที่เกิดชึ้นจะเริ่มทุเลาลง

  • ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย 
  • รู้สึกระคายเคืองตา คัดจมูก น้ำมูกไหล 
  • หายใจติดขัด แน่นหน้าอก 
  • เกิดผื่นคันหรือรู้สึกระคายเคืองผิว 

การป้องกันตนเองจากอาการโรคตึกเป็นพิษ

  • เปิดหน้าต่างหรือประตูให้อากาศถ่ายเท หรือออกไปเดินสูดอากาศภายนอกอาคารเสมอ
  • หมั่นทำความสะอาดห้องหรือโต๊ะทำงานอยู่เสมอ รวมถึงเก็บเอกสารให้มิดชิด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น
  • หมั่นสำรวจว่าในสำนักงานมีอุปกรณ์เก่าๆ ที่ต้องเปลี่ยนหรือไม่ เช่น จอคอมพิวเตอร์หรือหลอดไฟ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารเคมี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการระคายเคือง 

🌈 ปันโปรสรุปให้ 🌈

  • โรคตึกเป็นพิษ ยังไม่มีการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ต้องรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น 
  • คนที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคตึกเป็นพิษ และจะมีอาการหนักมากกว่าอาการภูมิแพ้ปกติ
  • อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอกันด้วยน้า~

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย และ Pobpad 

 

แสดงความคิดเห็น

avatar writerบทความ ที่คุณอาจจะสนใจ