รวม "แอปทำรายรับ - รายจ่าย" Manage ได้ มีเงินเหลือไว้ช็อปเพียบ !
โดย : imnat
ใครอยากเป็นเศรษฐี ชั้นล่ะสิ ชั้นล่ะสิ
แต่ก่อนจะเป็นเศรษฐีได้ เห็นทีจะต้องหัดเก็บเงินให้อยู่กันก่อนนะแม่~
เรื่องของเรื่องไม่ใช่อะไรเล้ยยยย คือช่วงที่อยู่บ้านนานๆ จนมาถึงตอนนี้ ทางเราก็คือเสียทรัพย์ไปกับอะไรต่อมิอะไรนักหนาก็ไม่รู้ ยิ่งเข้าสู่ช่วงแคมเปญช็อปปิ้งที อื้อหือ... บอกได้คำเดียวว่า ตัดบัตรไม่ยั้ง 😅 ตัดไป ตัดมา พอบิลมาปุ๊บ ชั้นนี่ร้องกรี๊ดเลย (จินตนาการเป็นสำเนียงแม่สิตางศุ์ด้วยนะ เพื่ออรรถรส) แล้วเป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายเดือนยิ่งไม่ไหว ควักเงินเก็บที่สะสมมาใช้แทนไปเท่าไหร่แล้ว สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาแบบนี้อยู่ ได้เวลาลุกขึ้นมาจัดการกับเงินในกระเป๋าของตัวเองกันแล้วจ้า
เก็บเงินไม่อยู่ ควบคุมเงินเข้า - ออกไม่ได้
เห็นทีจะต้องพึ่ง "แอปทำรายรับ - รายจ่าย" กันแล้วแม่ !
เก็บทรงไม่อยู่ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเก็บเงินไม่อยู่เมื่อไหร่ บอกเลย ปัญหาใหญ่ระดับชาติ ! ซึ่งทางแก้ ก็คือ ต้องหันกลับมาควบคุมการใช้จ่ายของตัวเองกันด่วนๆ บวกกับงัดเอาวิชาที่เคยเรียนสมัยมัธยมมาใช้ การทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ยังจำกันได้ไหม นั่นแหละคือทางออกที่พอจะมองเห็นได้ในตอนนี้
ปันโปรเชื่อว่า สาเหตุของการใช้จ่ายหนักๆ ของพวกเรา ส่วนใหญ่ก็มาจากการที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขในบัญชี แล้วไม่ได้มีการทยอยอัปเดตเรื่อยๆ ว่าตอนนี้เราใช้จ่ายไปมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงเงินที่เราหามาได้นั้นอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งการทำรายรับ รายจ่าย จะทำให้เราเห็นตัวเลขตรงนี้ได้ชัดขึ้น แล้วยิ่งตอนนี้เทคโนโลยีก็ทำให้เราไม่ต้องไปใช้สมุดจดบัญชีเหมือนสมัยที่เป็นเด็กกันแล้ว แถมแอปดีๆ ก็มีอยู่เพียบ เดี๋ยวปันโปรจะมาป้ายยาแอปทำรายรับ รายจ่ายดีๆ ที่ควรค่าแก่การมีติดเครื่องกัน !
💰 แอปทำรายรับ รายจ่ายที่ 1 : Money Manager
ได้เวลาจัดการกับเงินในบัญชีให้อยู่หมัดด้วยแอปพลิเคชั่นแรกอย่าง Money Manager โดยจุดเด่นของแอปนี้อยู่ตรงที่ หน้าตาภายในตัวแอป รวมไปถึงฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ที่ดูดี ใช้งานง่าย แถมยังมีให้เลือกดูรายรับ รายจ่ายของเราในรูปแบบของวัน, สัปดาห์, เดือน และที่สำคัญยังสามารถส่งต่อไฟล์ออกไป ในรูปแบบของไฟล์ Excel ได้ด้วย
นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถเลือกแอดได้เป็นเงินสด, เงินในบัญชี รวมไปถึงวงเงินบัตรเครดิต เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเงิน แถมยังแยกประเภทของการใช้เงินได้เป็นหมวดๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในบ้าน, ค่าของกิน, ค่าบัตรเครดิต รวมไปถึงค่าน้ำ ค่าไฟต่างๆ ซึ่งหมวดยิบย่อยตรงนี้เราสามารถเลือกตั้งค่าเองได้เลย พอหมดเดือนก็สามารถเข้ามาเช็กดูภาพรวมอีกทีก็ได้ ว่าเดือนนี้เราหมดเงินไปกับค่าอะไรมากน้อยแค่ไหน
พรีวิวแอป Money Manager ให้ดูกันแบบคร่าวๆ
โหลดแอป Money Manager ได้ที่นี่
📱 iOS > คลิก
📱 Android > คลิก
💰 แอปทำรายรับ รายจ่ายที่ 2 : Money Lover
มาต่อกันที่แอปหมูเขียวเหนี่ยวทรัพย์อย่าง Money Lover กันบ้าง (แค่ชื่อก็โดนใจไปแล้ว ว่าซั่น!) รักเงิน ก็ต้องเก็บเงิน ถ้าอยากเก็บเงิน ก็ต้องพึ่งแอปนี้กันเลยจ้า เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแอปที่ได้รับความนิยม ที่สำคัญจุดเด่นของเค้าก็คือ ตัวแอปมีเมนูภาษาไทย ใช้งานง่าย รูปแบบก็มีความสวยงาม มีลูกเล่นเพียบ แถมยังให้ระบุจุดประสงค์การใช้งานแอปของเราตั้งแต่เริ่ม ว่าเรามีเป้าหมายยังไง แบบนี้ยิ่งเพิ่มแรงบันดาลใจในการทำรายรับ รายจ่ายขึ้นเยอะเลย
ที่สำคัญตัวแอปเค้ายังช่วยเพิ่ม Reaction ของเรากับการทำรายรับ รายจ่ายมากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ที่ให้เราแอดบัญชีเข้าไปในแอปได้หลายบัญชี เผื่อใครมีบัญชีธนาคารเยอะ แล้วกลัวว่าตัวเองจะจัดการไม่ถูก บอกเลยว่าตอบโจทย์มาก แถมแอปนี้เค้าพยายามจะสร้างนิสัยให้พวกเราให้ความสำคัญกับรายรับ รายจ่ายของตัวเองกันมากขึ้น ใครที่กระเป๋าตังรั่วบ่อยๆ เห็นทีจะต้องลอง !
พรีวิวแอป Money Lover ให้ดูกันแบบคร่าวๆ
โหลดแอป Money Lover ได้ที่นี่
📱 iOS > คลิก
📱 Android > คลิก
💰 แอปทำรายรับ รายจ่ายที่ 3 : Spendee
มาต่อกันที่แอปที่ 3 กัน สำหรับแอปนี้จริงๆ แล้วเค้ามีให้เลือกอัปเกรดเพิ่มเติมด้วย แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินก็ได้ เพราะแค่ฟีเจอร์พื้นฐานที่ให้มา ส่วนตัวปันโปรมองว่าก็เพียงพอแล้ว สำหรับจุดเด่นของแอปนี้ก็คือ หน้าตาของแอปเค้าคลีนมากกกก ไม่มีแถบเมนูเยอะ ทำให้ทำความเข้าใจตัวแอปได้ง่าย ใช้งานได้ไว แต่ว่าแอปเค้าไม่มีเมนูภาษาไทยนะ ถึงแม้ว่าจะไม่มีเมนูภาษาไทย แต่ทางเราคิดว่าทุกคนน่าจะใช้งานกันได้อยู่ เพราะอย่างที่บอกว่าเค้าไม่ได้มีเมนู หรือว่าตัวเลือกอะไรให้รู้สึกว่าใช้งานยากเลย
มาถึงส่วนของการใช้งานกันบ้าง สำหรับการใช้งานแอปนี้ก็แทบไม่ต่างจากแอปก่อนหน้า ก็คือลงบันทึกรายรับ รายจ่าย ซิงค์กับบัญชีธนาคารได้ หน้าสรุปรายรับ รายจ่ายก็ดูง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่เรียบร้อยดี ลูกเล่นถึงแม้จะมีไม่เยอะมาก แต่ก็สะดวกสำหรับคนที่ไม่ชอบอะไรเยอะ ต้องการแค่มาลงบันทึก และแทร็กข้อมูลเฉยๆ เพียงเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว
พรีวิวแอป Spendee ให้ดูกันแบบคร่าวๆ
โหลดแอป Spendee ได้ที่นี่
📱 iOS > คลิก
📱 Android > คลิก
💰 แอปทำรายรับ รายจ่ายที่ 4 : Oh My Cost
น่ารักไม่ไหวววว ใครที่ขาดแรงจูงใจ กลัวว่าเจอหน้าแอปเรียบๆ ไป แล้วแรงกระตุ้นในการทำรายรับ รายจ่ายของตัวเองจะน้อยลง ปันโปรขอแนะนำให้โหลดแอปนี้มาใช้กันเลย เพราะจุดเด่นของแอปนี้คือ รูปแบบที่น่ารักโคตรรรร เหมือนเกมมือถือเลยทุกคน ความน่าใช้คือเพิ่มขึ้นมา 10 เลเวล ที่สำคัญนะ แอปนี้เป็นแอปของคนไทยด้วย เพราะฉะนั้นตอบโจทย์คนไทย รองรับภาษาไทยแน่นอน
มาพูดถึงฟังก์ชันการใช้งานของเค้ากันบ้าง ก็คือใช้งานง่ายสุดๆ (ปันโปรยังยืนยันคำเดิมว่าให้ความรู้สึกเหมือนเล่นเกมอยู่เลย) เมนูหลักๆ ของเค้าก็จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 เมนู คือ รายรับ รายจ่าย และสรุป ใครอยากจะสร้างมากกว่า 1 บัญชีก็สามารถแอดเพิ่มเข้าไปได้ ตอบโจทย์คนที่มีหลายบัญชีธนาคารเวอร์ แล้วเห็นแอปเค้าน่ารักๆ แบบนี้ จะบอกว่าการใช้งานไม่ยุ่งยากเลย โหลดมาแล้วได้ใช้แน่นอน ปันโปรคอนเฟิร์ม !
พรีวิวแอป Oh My Cost ให้ดูกันแบบคร่าวๆ
โหลดแอป Oh My Cost ได้ที่นี่
📱 iOS > คลิก (สำหรับระบบ Android ตอนนี้ยังไม่มีน้า)
ป้ายยากันอย่างต่อเนื่อง ให้ทุกคน Save กันมากกว่าเดิม
กับ 3 บัญชีเงินฝากออนไลน์ ดอกเบี้ยสูงงงงงง
ไหนๆ ก็จะ Save เงินกันแล้ว ก่อนจากกันปันโปรเลยมี 3 บัญชีเงินฝากออนไลน์ ที่น่าสนใจมาแนะนำให้กับทุกคน แต่ออกตัวไว้ก่อนว่า โดยปกติแล้ว ดอกเบี้ยของทางธนาคารจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับประกาศจากธนาคารนั้นๆ ถ้าหากเพื่อนๆ สนใจบัญชีเงินฝากเจ้าไหน อย่าลืมไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมกันอย่างละเอียดอีกครั้ง ก่อนที่จะตัดสินใจเปิดบัญชีกันน้าา
บัญชีเงินฝาก KKP Start Saving
จุดเด่น
- ดอกเบี้ยสูงสุด 2%
- สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตัวเองผ่านแอป ทรูมันนี่วอลเล็ต
- ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชี
- ฟรี ค่าธรรมเนียม ในการฝาก ถอน โอน ต่างธนาคาร
เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ย
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 2.00%
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.55%
- ยอดเงินฝากเกิน 1,000,000 บาทขึ้นไป จะได้รับดอกเบี้ย 0.50%
รายละเอียดเพิ่มเติม > คลิก
ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 23 กันยายน 2564
บัญชีเงินฝาก Chill D By CIMB Thai
จุดเด่น
- ดอกเบี้ยสูงสุด 2%
- สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตัวเองผ่านแอป และยืนยันตัวตนได้ที่ 7-Eleven
- ไม่มีขั้นต่ำ และไม่ต้องใช้เอกสารในการเปิดบัญชี
- สมัครบัตรเดบิต ชิลดี ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้า และรายปี ตลอดชีพ
เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ย
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 10,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 0.50%
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 50,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 2.00%
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 100,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.00%
- ยอดเงินฝากเกิน 100,000 บาทขึ้นไป จะได้รับดอกเบี้ย 0.20%
รายละเอียดเพิ่มเติม > คลิก
ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 23 กันยายน 2564
บัญชีเงินฝาก Krungthai NEXT Savings
จุดเด่น
- ดอกเบี้ยสูงสุด 1.50%
- สามารถเปิดบัญชีได้ด้วยตัวเองผ่านแอป
- ฟรี ค่าธรรมเนียมในการเปิดบัญชี
เงื่อนไขของอัตราดอกเบี้ย
- ยอดเงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ย 1.50%
- ยอดเงินฝากเกิน 1,000,000 บาทขึ้นไป จะได้รับดอกเบี้ย 0.50%
รายละเอียดเพิ่มเติม > คลิก
ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 23 กันยายน 2564
ถึงเวลาที่เราจะต้องมาร่วมแรง ร่วมใจ เปลี่ยนนิสัยการใช้เงินเดิมๆ ให้เป็นระบบ ระเบียบขึ้นกันแล้ว ยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจก็ไม่ใช่ว่าจะดี ถ้าประหยัดได้ เราก็ควรจะประหยัดกันนะทุกคน อันดับแรกควรเริ่มต้นจากการวางแผนการใช้เงิน ด้วยการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายกันก่อน ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะมองว่ามันยุ่งยาก แต่ถ้าเราทำไปเรื่อยๆ ปันโปรเชื่อว่าเราน่าจะเห็นภาพการใช้เงินของเราได้ชัดขึ้น (เดี๋ยวรู้เรื่องเลย ว่าต่อเดือนเราใช้เงินไปเยอะแค่ไหน 😅 )
ส่วนบรรดาแอปที่แนะนำกันไป ใครจะลองโหลดมาเล่นกันดูก่อนก็ได้ จะได้รู้ว่าแอปไหนเหมาะ หรือไม่เหมาะกับเรา เพราะอาศัยการดูแต่รีวิวอย่างเดียว ก็คงสู้การลงไปใช้งานจริงๆ ไม่ได้หรอกเนอะ ส่วนเหล่าบัญชีเงินฝากทั้งหลาย ก็ขอย้ำกันอีกทีว่า ให้ไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกกัน อาทิ พวกเงื่อนไขอะไรต่อมิอะไรต่างๆ, เงื่อนไขในการจ่ายดอกเบี้ย ฯลฯ ถ้าหากดูแล้วคิดว่าเวิร์ค คิดว่าคุ้ม ก็ลุยโล้ด เพราะงานนี้เราต้องสู้เพื่อเงินเก็บของเรา ฮิๆ
โดย imnat
เสพติดการอ่าน & ดูหนัง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการทำตามความฝันให้สำเร็จ :)
บทความ ที่คุณอาจจะสนใจ