อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน เรื่องเล็กน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
โดย : Ying

" สำหรับเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป นมแม่เพียงอย่างเดียว อาจมีสารอาหารไม่เพียงพอ "
นมแม่จัดเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัย 6 เดือนการให้ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอนัก เพราะด้วยวัยของลูกที่เริ่มโตขึ้น ร่างกายจำเป็นต้องได้รับพลังงานรวมถึงสารอาหารอื่นๆ ที่มีความหลากหลายและเพียงพอต่อการเจริญเติบโตได้อย่างสมวัย
เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่สำคัญให้กับลูกน้อย คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือนอย่างไรและมีอะไรบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ วันนี้เราจะมาแนะนำการเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน พร้อมแนะนำของเล่นส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยไปพร้อมกัน
Do & Don't การเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน ต้องระวังอะไรบ้าง
👶🏻
อาหารสำหรับลูกน้อยวัย 6 เดือน คุณแม่จะต้องปรุงอาหารให้สุกและอ่อนนุ่ม อาจจะนำอาหารไปต้มหรือนึ่งจนเปื่อย หลังจากนั้นก็นำมาบดให้ละเอียดเพื่อป้องกันการติดคอ อีกทั้งการบดละเอียดยังช่วยให้ลูกสามารถเคี้ยวและกลืนได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้สิ่งที่คุณแม่ควรทำในการเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน ดังนี้
- เนื้อสัตว์และอาหารที่มีโปรตีน ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มมาเป็น 2-4 ช้อนโต๊ะ และควรให้รับประทาน 2 ครั้ง/วัน
- ผลิตภัณฑ์ธัญพืชต่าง ๆ ปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ แล้วค่อย ๆ เพิ่มมาเป็น 2-4 ช้อนโต๊ะ ซึ่งอาจจะมีการผสมกับอาหารในแต่ละมื้อ
- ผักและผลไม้ ปริมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ในกรณีที่ลูกน้อยไม่มีอาการท้องอืด ท้องผูก และท้องเสีย แล้วค่อย ๆ เพิ่มเป็น 4-8 ช้อนโต๊ะ แนะนำว่าควรให้ลูกรับประทาน 1-2 ครั้ง/วัน
🧡 อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน
- ถ้วยหัดดื่ม
- ผ้ากันเปื้อน
- เก้าอี้นั่งสำหรับลูกนั่งรับประทานอาหาร
- ชามซิลิโคนและช้อนซิลิโคนสำหรับป้อนอาหาร
- อุปกรณ์ที่ใช้ในการนึ่ง ต้ม ตุ๋น ปั่นหรือบดอาหาร
- บล็อกซิลิโคนหรือถ้วย / กล่องเก็บอาหารแช่แข็ง สำหรับแบ่งเก็บอาหาร
❌ ข้อควรระวังในการเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือน
กรณีที่ครอบครัวมีประวัติการแพ้อาหารก็อาจจะส่งผลให้ลูกน้อยแพ้อาหารได้เหมือนกัน ดังนั้นหากคุณพ่อและคุณแม่แพ้อาหารประเภทไหน ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการป้อนอาหารประเภทนั้นกับลูกน้อย แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังไม่แน่ใจก็สามารถพาลูกน้อยไปเข้ารับการทดสอบการแพ้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้ทราบว่าอาหารประเภทใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง แต่ทั้งนี้อาหารสำหรับเด็ก 6 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง จะมีดังนี้
- อาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ปลา ถั่วลิสง และหอย เป็นต้น
- น้ำผึ้ง อาจจะส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงเป็นโรคโบทูลิซึม (Botulism) ที่เกิดจากแบคทีเรีย
- นมข้นหวาน อาจส่งผลให้เด็กได้รับแคลอรีมากจนเกินไป เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนและยังทำให้เด็กไม่ได้รับวิตามินอีกด้วย
- อาหารที่มีไขมัน เกลือ น้ำตาลสูง และอาหารแปรรูป เช่น ฮอทด็อก เค้ก บิสกิต เครื่องดื่มรสหวาน น้ำอัดลม และอาหารกระป๋อง
- อาหารดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เนื่องจากจะมีแบคทีเรียและเชื้อก่อโรคปนเปื้อนอยู่ อาจจะส่งผลให้เกิดอาหารเป็นพิษ หรือติดเชื้อได้
ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก ตัวช่วยที่พ่อแม่ต้องมี
👶🏻
นอกจากการเตรียมอาหารที่มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยวัย 6 เดือนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อยได้ ด้วยการเลือกของเล่นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมไปถึงระบบประสาทของลูกน้อย โดยเราสามารถแบ่งของเล่นตามพัฒนาของเด็กวัย 6 เดือน ได้ดังนี้
- ของเล่นยางกัด ลูกบอลยางนุ่ม หรือตุ๊กตาผ้ารูปสัตว์ เพื่อช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง
- กล่องดนตรี หรือ หนังสือผ้าแบบมีเสียง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา และสายตา
- หนังสือภาพ หนังสือการ์ตูนที่มีสีสัน เพื่อส่งเสริมสร้างสติปัญญา เป็นการฝึกเด็กให้รู้จักเรียนรู้ไปในตัว
เท่านี้คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่คงหายกังวลใจเกี่ยวกับการเตรียมอาหารให้ลูก 6 เดือนกันแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะเตรียมอาหารอื่นที่มีประโยชน์ไว้ให้ลูกน้อยแล้ว แต่ก็อย่าลืมให้ทานควบคู่ไปพร้อมๆ กับนมแม่ด้วยนะ
ย้ำกันอีกครั้งว่า : คุณแม่ต้องคอยสังเกตอาการแพ้อาหารของลูกน้อยเสมอ ถ้าอยากให้แน่ใจว่าลูกน้อยแพ้อาหารหรือไม่ คุณแม่ควรให้ลูกน้อยรับประทานเมนูเดิมไปอย่างน้อย 3 ครั้งติดต่อกัน หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเมนูไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับประทานอาหารที่มีความหลากหลายมากขึ้น
สำหรับคุณพ่อคุณแม่แล้วเรื่องลูกถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ด้วยในแต่ละวัยของลูกน้อยนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เหล่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องคอยมองหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเลี้ยงดูลูกกันอยู่เสมอ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดกำลังมองหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ > https://shopee.co.th/blog
🧡
โดย Ying
ฺ𝘉𝘰𝘰𝘬 • 𝘊𝘰𝘧𝘧𝘦𝘦 • 𝘞𝘢𝘭𝘬𝘪𝘯𝘨 • 𝘍𝘳𝘦𝘦𝘥𝘪𝘷𝘪𝘯𝘨